วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการถ่ายวิดิโอให้น่าประทับใจ


เทคนิคการถ่ายวิดิโอให้น่าประทับใจ


1. คิดและวางแผนก่อนถ่ายวีดีโอ
ก่อนที่เราจะถ่ายวีดีโอในเหตุการณ์หรืองานอะไรก็แล้วแต่ เราจะต้องคิดและวางแผนก่อนว่า เราต้องการที่จะนำเสนออะไรในวีดีโอของเรา เช่น ผมไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดกับกลุ่มเพื่อนๆ ผมต้องการถ่ายวีดีโอที่เก็บบรรยากาศทั้งหมดว่าไปเที่ยวที่ไหนมาบ้าง มีกิจกรรมอะไรที่ทำบ้าง และบรรยากาศในขณะนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เราสามารถเขียนออกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้
- ป้ายสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และสภาพแวดล้อม เพื่อจะได้รู้ว่าไปเที่ยวที่ไหนกัน และเป็นอย่างไรบ้าง
- บรรยากาศในขณะนั้น เช่น อาจจะถ่ายวีดีโอ candid เพื่อนๆ
- มีกิจกรรมอะไรที่ทำบ้าง เช่น แวะซื้อของ เดินป่า เล่นน้ำตก
      เมื่อเราแยกย่อยลงไปในแต่ละช็อต เราก็ต้องคิดอีกทีครับว่า เราจะจัดวาง composition ในการถ่ายวีดีโอเป็นอย่างไร ให้ตรงกับความต้องการของเรา เช่น ในขณะที่กำลังนั่งเรือ เราอยากจะให้เห็นบรรยากาศเพื่อนๆในขณะนั่งเรือพร้อมกับวิวทิวทัศน์

2. โฟกัสจุดที่เราสนใจในการถ่ายวีดีโอ
ก่อนที่เราจะกดบันทึกวีดีโอ เราจะต้องรู้ตัวเองดีว่า ในช็อตนี้เราต้องการที่จะถ่ายอะไร เราจะต้องถ่ายให้สำเร็จก่อนที่จะไปถ่ายสิ่งอื่นๆ เช่น ในขณะที่เรากำลังถ่ายเพื่อนของเราในงานรับปริญญาอยู่ เพื่อนของเรากำลังยืนถ่ายรูปกับเพื่อนๆอยู่ ขณะที่เรากำลังถ่ายวีดีโออยู่ มีผู้หญิงสวยคนหนึ่งเดินผ่านเราไป เราจะต้องถ่ายวีดีโอเพื่อนเราให้เสร็จก่อนที่จะหันกล้องไปถ่ายผู้หญิงสวยคนนั้น (ถ้าเดินไปไกลแล้วก็ถือว่าไม่ได้เป็นเนื้อคู่กัน )จุดประสงค์หลักในข้อนี้ คือ ต้องการให้เรามีสมาธิในการถ่าย เพราะจะทำให้การจัดวาง composition มีความแน่นอน และกล้องก็จะไม่สั่นด้วย
3. ความยาวของวีดีโอในแต่ละช็อต
ธรรมชาติของคนเราเมื่อดูสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตาของคนเราจะจดจ้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่นิ่งๆได้ไม่นาน เช่น เราดูวีดีโอการบรรยายของวิทยากร ถ้าการถ่ายวีดีโอมีเพียงการถ่ายเฉพาะวิทยากรที่กำลังนั่งบรรยายอยู่ (uncut video) เราดูได้ซักพักก็จะรู้สึกเบื่อ ง่วงนอน นั่นคือธรรมชาติของคนครับ

4. ใบหน้าถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีที่สุด
ถ้าเราต้องการจะสื่อสารถึงอารมณ์ของตัวละครในฉาก สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ดวงตา เพราะดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ปกติการถ่ายวีดีโออาจจะเริ่มที่ wide shot เพื่อให้เห็นบรรยากาศโดยรวมในขณะนั้น ฉากต่อมาอาจจะเป็น medium shot ระหว่างคนสองคนกำลังคุยกัน แต่พอเมื่อถึงจังหวะที่ต้องการจะสื่อสารถึงอารมณ์ในตัวละคร เช่น กำลังมีความสุข เศร้า หรือกำลังคิดวางแผนอะไรอยู่ เราจะต้องถ่ายวีดีโอแบบ close up เพื่อให้เห็นดวงตาที่ชัดเจนของผู้พูด

5. ซูมด้วยเท้าก่อนเป็นอันดับแรก
ยิ่งมีการใช้การซูมมากเท่าใด กล้องวีดีโอก็จะยิ่งมีความสั่นมากขึ้นเท่านั้น เป็นผลให้วีดีโอของเราไม่สามารถดูได้  เคยมีคนเคยคำนวณเอาไว้ว่า ถ้าเราซูมเข้าไป 10 เท่า การสั่นของกล้องวีดีโอก็จะเกิดขึ้น 10 เท่า
ที่มา:http://www.xn--l3cdl7ac1a7b0al6ab0nxc.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น